อาหารเสี่ยงโรคร้าย ตอนที่ร่างกายของเรายังแข็งแรง หลายคนอาจใช้ชีวิตอย่างไม่ระวัง ไม่ตรวจเช็คสุขภาพ กินตามใจปาก สะสมความเครียด นอนดึก อัดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เพราะคิดไปว่าร่างกายเราแข็งแรงดี พอรู้ตัวอีกที โรคร้ายก็มาเยือนโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง หรือ โรค NCDs เป็นโรคร้ายที่เกิดจากพฤติกรรมของเรา เช่น โรคเบาหวาน โรคอ้วน โรคความดันโลหิตสูง โรคไขมันในเลือดสูง โรคหัวใจและหลอดเลือด และโรคมะเร็ง แน่นอนว่าโรคเหล่านี้จะค่อยๆ ก่อตัวขึ้นในร่างกายของคุณ อาหารเสริมธาตุเหล็ก หากคุณยังไม่ปรับพฤติกรรมการกินให้ดีขึ้นทราบหรือไม่ว่าพฤติกรรมการรับประทานอาหารส่งผลต่อระบบการทำงานของร่างกายมากกว่าที่คุณคิด แต่การเลือกประเภทอาหาร ก็อาจส่งผลให้ร่างกายทำงานได้เป็นอย่างดี หรืออาจจะเป็นการเพิ่มความเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคร้ายได้โดยไม่รู้ตัว Sanook Health มีข้อมูลจาก อ.พญ.พรจิรา ศุภราศรี โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย มาให้ทุกคนได้เช็กกันว่า พฤติกรรมการกินอาหารของคุณกำลังทำให้ร่างกายเสี่ยงต่อการเป็นโรคต่างๆ อยู่หรือไม่ อาหารที่มีไฟเบอร์สูง คือ
อาหารที่ควรหลีกเลี่ยง
แป้ง
อาหารเสี่ยงโรคร้าย การกินอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรต แป้งขัดขาว บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปมากๆ เป็นตัวการสำคัญที่ก่อให้เกิดโรคอ้วน เพราะนอกจากแป้งจะแปรสภาพเป็นน้ำตาล ก่อนจะกลายเป็นไขมันสะสมในร่างกาย ใยอาหารและประโยชน์ยังน้อยมาก ในผลการวิจัยยังชี้ชัดว่า ช่วงที่ร่างกายย่อยสลายแป้ง จะทำให้ฮอร์โมนดีๆ ส่วนใหญ่ทำงานได้น้อยลงอีกด้วยข้อแนะนำ คือ หันมากินแป้งไม่ขัดสี เช่น ข้าวกล้อง ขนมปังโฮลวีต และกินในปริมาณที่เหมาะสมอาหารประเภทแป้ง เป็นอาหารที่จัดอยู่ในกลุ่มคาร์โบไฮเดรต เช่น ถั่ว ข้าว มันฝรั่ง ข้าวโพด ขนมปัง อาหารเสริมธาตุเหล็ก
ซึ่งเป็นแหล่งพลังงานสำคัญของร่างกาย อย่างไรก็ตาม หากรับประทานในปริมาณอาหารประเภทแป้งในปริมาณที่มากเกินไปก็อาจเป็นอันตรายต่อร่างกายได้ ดังนั้น จึงควรรับประทานอาหารประเภทแป้งชนิดที่ดี ในปริมาณที่เหมาะสม ตามคำแนะนำของคณะกรรมการอาหารและยา สหรัฐอเมริกา (FDA) ที่ระบุว่าควรบริโภคอาหารประเภทแป้งไม่ควรเกิน 300 กรัม/วัน
น้ำตาล และผลไม้รสหวาน
คนที่ชอบกินขนมหวานๆ น้ำอัดลม หรือน้ำตาลปริมาณมาก คุณกำลังตกอยู่ในอันตราย เพราะน้ำตาลคือตัวการสำคัญที่ทำให้เกิดโรคร้าย เช่น โรคเบาหวาน โรคอ้วน โรคมะเร็ง ฯลฯ รวมถึงผลไม้รสหวานก็ประมาทไม่ได้เช่นกันข้อแนะนำ คือ ให้ลดการกินน้ำตาล และเปลี่ยนมากินผลไม้ที่ไม่หวานจัดให้หลากหลายแทนจะดีกว่า และควรลดปริมาณน้ำตาลที่ทานลงตามที่แพทย์แนะนำ ให้เหลือเพียงวันละ 6-9 ช้อนชาต่อวัน
รสจัด
คนที่ชอบอาหารรสจัดๆ เช่น เค็มจัด หวานจัด เปรี้ยวจัด เผ็ดจัด ล้วนเป็นอันตรายต่อร่างกายทั้งสิ้น ไม่ว่าจะก่อให้เกิดโรคไต โรคกรดไหลย้อน หรือแม้แต่โรคไม่ติดต่อเรื้อรังต่างๆข้อแนะนำ คือ ให้ลดการปรุงอาหารให้รสจัดกินไป หากรู้สึกว่าไม่อร่อย ให้ค่อยๆ ลดทีละน้อย ลิ้นจะปรบสภาพจนเคยชินกับอาหารรสอ่อนลงได้เอง อาหารที่มีไฟเบอร์สูง คือ
ของทอด
แม้ว่าอาหารที่ไม่ไขมันสูงจะเป็นของอร่อย แต่หากคุณไม่ระวังแล้วล่ะก็ อาจเป็นต้นเหตุทำให้เกิดไขมันอุดตันในเส้นเลือด นำไปสู่ภาวะเส้นเลือดในสมองแตก และเป็นอัมพาตได้ นอกจากนี้ อาหารมันๆ ยังทำให้เกิดโรคอ้วน ลงพุง และความดันโลหิตสูงได้อีกด้วยข้อแนะนำ คือ พยายามบริโภคไขมันดี เช่นไขมันจากปลา หรือน้ำมันมะกอก และให้กินในปริมาณที่พอดีอาหารทอดกลายเป็นอาหารหลักในอาหารของหลายๆ คน แต่ผลที่ตามมาจากการบริโภคเป็นประจำมักถูกมองข้ามไป ผลกระทบของอาหารทอดที่มีต่อสุขภาพกายและสุขภาพจิต รวมถึงผลกระทบทางสังคมมีความสำคัญ ในบทความนี้ เราจะสำรวจวิธีการต่างๆ ที่อาหารทอดส่งผลต่อสุขภาพและความเป็นอยู่ของเรา รวมถึงผลกระทบทางสังคมและเศรษฐกิจในวงกว้างจากการบริโภคอาหารดังกล่าว
การบริโภคอาหารทอดเชื่อมโยงกับปัญหาสุขภาพมากมาย เช่น โรคหัวใจ เบาหวาน และโรคอ้วน อาหารทอดมักมีไขมันที่ไม่ดีต่อสุขภาพสูง ซึ่งอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคหัวใจได้เนื่องจากการอุดตันของหลอดเลือดแดงและเพิ่มระดับคอเลสเตอรอล นอกจากนี้ ระดับน้ำตาลและคาร์โบไฮเดรตในอาหารทอดที่สูงอาจทำให้เสี่ยงต่อการเป็นโรคเบาหวานได้มากขึ้น โรคอ้วนก็เป็นปัญหาสำคัญเช่นกัน เนื่องจากอาหารทอดมักมีแคลอรี่สูงและอาจส่งผลให้น้ำหนักเพิ่มขึ้นได้ ปัญหาสุขภาพเหล่านี้อาจส่งผลระยะยาวต่อบุคคลและอาจนำไปสู่ค่ารักษาพยาบาลจำนวนมาก
เนื้อสัตว์แปรรูป
องค์กรวิจัยมะเร็งนานาชาติ (IARC) ขององค์การอนามัยโลก (WHO) รายงานว่า เนื้อสัตว์แปรรูป เช่น เนื้อรมควัน ไส้กรอก แฮม ถูกจัดเป็นสารก่อมะเร็งกลุ่มที่ 1 ซึ่งมีความสัมพันธ์กับการเกิดโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ แน่นอนว่าอันตรายสุดๆ ถ้าคุณยังไม่ลดการบริโภคอาหารเหล่านี้ข้อแนะนำ คือ ให้บริโภคโปรตีนจากเนื้อปลา หรือโปรตีนจากพืชจะดีต่อร่างกายมากกว่า
ฝึกทานผักให้เป็นนิสัย
การเปลี่ยนพฤติกรรมในการกินเป็นเรื่องยาก โดยเฉพาะในไทยที่อาหารอุดมไปด้วยโซเดียม ของทอด ของหวาน แบบเกินลิมิตตามที่กำหนด เจอแทบทุกร้าน การเลือกทำอาหารรับประทานเอง อาจเป็นทางเลือกที่ดีกว่า หรือ ปรับเมนูอาหารให้มีความหลากหลายมากขึ้น ในปริมาณที่เหมาะสม ได้รับสารอาหารครบถ้วนแนวทางการแก้ไข ควรฝึกรับประทานสลัดผักให้บ่อยขึ้น กินผักทุกมื้อร่วมกับข้าวในปริมาณที่มากพอสมควร ให้ความสำคัญกับแหล่งโปรตีนที่ได้มาตรฐาน เช่น เนื้อสัตว์ ปลา ลดของรสจัด ของทอด เนื้อสัตว์แปรรูป รสของหวานลงสำหรับคนที่กังวลเรื่องสุขภาพ ควรหมั่นวัดระดับน้ำตาลอยู่เสมอ และตรวจสุขภาพประจำปี อาหารเสี่ยงโรคร้าย
บทความที่เกี่ยวข้อง